กดจุดลดความเครียดBy admin / October 6, 2024 October 6, 2024 ด้วยสถานการณ์รอบตัว สังคม การทำงาน สิ่งแวดล้อมต่างๆ หมอจีนเชื่อว่าหลายๆคนน่าจะเคยประสบพบเจอ ความเครียด หรือภาวะเครียด กันมาบ้าง มาดูกันดีกว่าว่าความเครียด จะส่งผลกระทบอย่างไรกับร่างกายในทางแพทย์แผนจีน ในทางแพทย์แผนจีนภาวะเครียด วิตกกังวล จะจัดอยู่ในขอบเขตของโรคของอารมณ์ เมื่อร่างกายเกิดความเครียด ทำให้ลมปราณในร่างกายติดขัด โดยเฉพาะลมปราณของตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ควบคุมการระบายและไหลเวียนของชี่ เลือด และสารจำเป็นต่างๆในร่างกาย และส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ เช่น หัวใจ ม้าม ไต เป็นต้น วันนี้หมอจีนจะมาแนะนำ 4 จุดลดความเครียด พร้อมวิธีนวดมาให้ทุกคนได้ลองทำตาม ช่วยให้รู้สึกสงบจิตใจ คลายความกังวัลได้กันค่ะ เริ่มกันที่จุดแรก จุดไท่หยาง (太阳) อยู่บนศีรษะตรงรอยบุ๋มที่ขมับ หลังจุดกึ่งกลางระหว่างคิ้วกับหางตา ห่าง 1 ชุ่น (เท่ากับความกว้างของหัวแม่มือ) จุดนี้จะช่วยขจัดความเหนื่อยล้าของสายตา และสมอง บรรเทาความตึงเครียดและความกังวล สามารถใช้ในบรรเทาอาการปวดศีรษะ นอนหลับไม่หลับ สายตาอ่อนล้าได้ วิธีการนวดกดจุด : ใช้นิ้วไหนก็ได้ กดคลึงบริเวณขมับสักครู่แล้วกดค้างลงที่จุดไท่หยางค้างไว้ให้รู้สึกหน่วงแล้วปล่อย ทำซ้ำ 3-5 นาที จุดที่สอง จุดเน่ยกวน (内关) อยู่ห่างจากเส้นข้อมือระหว่างเอ็นทั้งสองโดยห่างจากเส้นข้อมือประมาณ 2 นิ้ว ถือเป็นจุดที่สำคัญอยู่บนเส้นลมปราณเยื่อหุ้มหัวใจ สรรพคุณหลักของจุดนี้คือ ช่วยสงบจิตใจ ช่วยนอนหลับ รักษาอาการใจสั่นและโรคทางอารมณ์ต่างๆ และยังช่วยบรรเทาอาการเวียนศีรษะ อาเจียนได้อีกด้วยวิธีการนวดกดจุด:ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปที่จุดเน่ยกวน ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำนาน 3-5 นาที หลังจากนั้นให้เปลี่ยนไปนวดกดจุดของมืออีกด้าน ทำวันละสองเวลา เช้าและเย็น จุดที่สาม จุดถันจง(膻中) อยู่บริเวณกึ่งกลางหน้าอก ระหว่างหัวนมทั้ง 2 ข้าง ช่วยในการปรับสมดุลชี่ตอนบน แก้อาการแน่นหน้าอก อดอัด ถอนหายใจบ่อย จุดนี้ใช้ร่วมกับจุดอื่นๆจะเห็นผลดียิ่งขึ้นวิธีการนวดกดจุด: นั่งหรือนอนหงาย วางฝ่ามือไว้ที่จุดฝังเข็ม จากนั้นใช้ฝามือวนทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเป็นเวลา 2 นาที จนรู้สึกอาการทุเลาลง จุดสุดท้าย จุดหย่งเฉวียน (涌泉) อยู่บริเวณฝ่าเท้าแบ่งเท้าเป็นสามส่วน อยู่กึ่งกลางอุ้งเท้าจุดนี้จะช่วยเปิดทวาร สงบจิตใจได้ และยังเป็นจุดกระตุ้นการพัฒนาการของเด็กให้เจริญเติบโตตามวัย และยังช่วยลดความดันได้อีกด้วยวิธีการนวดกดจุด : ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดคลึงเบาๆ บริเวณจุดหย่งเฉวียนทุกวัน วันละ 3-5 นาที บทความโดย พจ.จิน มนัสวานิช ไป๋ฮุ่ยถังคลินิก ชั้น 2 อิ้นท์-อินเตอร์เซคชั่น982 ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพ 10120เปิดทำการทุกวัน 11.00 – 20.00 Add Line